แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเด็ก อาชีวะโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน Flipped Classroom 



6 ขั้นตอนการสอนของห้องเรียนกลับด้าน   (Flipped Classroom) 

ก่อนเริ่มการสอน 

   ขั้นที่ 1 คุณครูศึกษาจุดประสงค์รายวิชา คำอธิบายรายวิชา สมรรถนะรายวิชา เป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน ออกแบบแผนการสอน กำหนดวัตถุประสงค์การสอน การเลือกใช้สื่อการสอน กิจกรรมเสริม ที่เหมาะสมกับวัยผู้เรียน กับห้องเรียน และบริบทของโรงเรียน

 ขั้นที่ 2 แบ่งกลุ่ม ให้ผู้เรียนและครูช่วยกันวางแผนชิ้นงานตามคำอธิบายรายวิชาสมรรถนะรายวิชา เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้ คุณครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันทำงาน ในหัวข้อที่ครูมอบหมาย หรือช่วยกันเลือกหัวข้อในการทำงานเพื่อให้เกิดทักษะการคิด สร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกัน 

   ขั้นที่ 3 เตรียมวิดีโอการสอน คุณครูอาจบันทึกการสอนของตัวเองทีสอนในห้องเรียนสดหรือใช้บริการจากวิดีโอการสอนที่มีเนื้อหาของบทเรียนครบตามตัวชี้วัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน

 ขั้นที่ 4 คุณครูแชร์วิดีโอการสอน ส่งให้กับนักเรียน และอธิบายว่าเนื้อหาในวิดีโอจะนำมาพูดคุยกันในห้องเรียน (ในขั้นตอนนี้คุณครูอาจสร้างกิจกรรมบอกวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ทำ เป้าหมายของการปฏิบัติงานหรือการสอนหรือแจกแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ลองทำก่อนการสอนในห้องเรียน)

ขั้นที่ 5 แลกเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ตรวจติดตามผลงาน แนะนำปัญหาอุปสรรคในการปฎิบัติงานของผู้เรียน คุณครูเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน และซักถาม จากเนื้อหาที่ได้ศึกษามาแล้วในวิดีโอ เพื่อให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร

ขั้นที่ 6 ติดตามผลงานให้ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานกลุ่ม หรือดูผลการทำงาน เปิดเวทีให้เพื่อน ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และซักถาม