การจัดการห้องเรียนโดยใช้หลักการ “Proactive Classroom Management” 
     ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนบางครั้งอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง คุณครูและเด็ก ๆ ต้องใช้เวลาและพลังงานไปกับการแก้ปัญหาสถานการณ์ไม่คาดคิดเหล่านั้น ทำให้เสียเวลาในการเรียนรู้ได้ จะดีแค่ไหนหากสามารถออกแบบห้องเรียนของครูให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้มากที่สุด โดยห้องเรียนที่ใช้หลักการ “Proactive Classroom Management” ไม่ได้แค่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและทำให้เด็ก ๆ สามารถรู้ได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและทำให้คุณครูโฟกัสกับการสอนได้ดีขึ้นอีกด้วย ครูที่มีปัญหาเรื่องการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น จากการที่โรงเรียนอยู่บนพื้นที่สูง ทำให้ไฟดับบ่อยมาก เมื่อเจอสถานการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นทำให้ครูที่ไม่มีการจัดการหรือไม่มีแผนสำรอง ต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเท่าที่ทำได้ แต่พอเรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาแบบ proactive และมีแผนสำรอง จะทำให้ครูผู้สอนมีความรู้สึกมั่นใจในการสอนในทุก ๆ คาบเรียนเพราะรู้ว่าต่อให้เจอสถานการณ์ใด ๆ ครูและเด็ก ๆ ก็จะได้เรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนดีขึ้น แนวคิดของ “Proactive Classroom Management” สามารถปรับได้ตามบริบทและสถานการณ์ของทุก ๆ ห้องเรียนวันนี้ลองยกตัวอย่างมา 12 วิธี ถ้าคุณครูเคยเจอปัญหาแบบไหนและเลือกใช้วิธีไหนในการจัดการปัญหาเหล่านั้นแบบ proactive มาแลกเปลี่ยนกันได้

 รู้จักกับ Proactive Classroom Management  
       Proactive Classroom management (PCM) คือ วิธีการจัดการห้องเรียนที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนและช่วยลดปัญหาหรือพฤติกรรมเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นในห้องเรียนได้ ในระยะเวลา 1 คาบเรียน สามารถแบ่งช่วงเวลาสำคัญในห้องเรียนได้เป็น 2 ช่วงคือ
       1. Instructional Time = ช่วงเวลาที่ครูสอน และ เด็ก ๆ ได้เรียน
       2. Academic Engagement = ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมและนำสิ่งที่เรียนมาลองใช้จริง ๆ
ห้องเรียนที่ขาดการจัดการอาจส่งผลให้เด็ก ๆ แสดงพฤติกรรมเชิงลบและทำให้ช่วงเวลา Snstructional Time และ Academic Engagement หายไปเพราะคุณครูต้องเอาเวลามาจัดการกับพฤติกรรมเด็ก ๆ ในห้องเรียน ดังนั้นการใช้ Proactive Classroom Management จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีและป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ แสดงพฤติกรรมเชิงลบ (เหมือนเป็นการกันไว้ก่อนแก้) นักเรียนจะโฟกัสกับการเรียนรู้ได้ดีขึ้นควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเองได้ดี ส่วนคุณครูก็จะโฟกัสกับการสอนได้อย่างเต็มที่มากขึ้นเกิดเป็นห้องเรียนที่สร้างการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
 

Proactive Classroom

Reactive Classroom

คุณครูคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วว่าคาบเรียนนี้อาจเกิดปัญหาอะไรบ้าง และมีแผนสำรองเพื่อรับเมือสถานการณ์เหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

คุณครูจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนแบบเฉพาะหน้าไม่ได้มีแผนสำรองหรือไม่ได้คิดวิธีการรับมือมาก่อนล่วงหน้า

นักเรียนมีภาพชัดเจนว่าจะได้อะไรจากคาบเรียนนี้  นักเรียนรู้ว่าต้องทำอะไรต่อไป รู้บทบาทของตัวเอง

นักเรียนสับสนไม่เข้าใจว่ากำลังเรียนอะไรตามไม่ทันว่าคุณครูให้ทำอะไร ไม่รู้ว่าบทบาทในห้องเรียนของตัวเองคืออะไร

คุณครูให้ความสำคัญกับการอธิบายโจทย์อธิบายสิ่งที่แต่ละคนต้องทำอย่างชัดเจนนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษก็สามารถตามเพื่อน ๆ ทันได้

หลาย ๆ ครั้งที่คุณครูไม่ได้ให้เวลากับการอธิบายหรือขยายความสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจนทำให้เด็ก ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษตามไม่ทันอาจส่งผลให้คุณครูต้องเริ่มอธิบายใหม่เกิดการเรียนรู้ที่หยุดชะงักได้

ห้องเรียนมีกฎระเบียบหรือ รูปแบบที่ชัดเจนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดคุณครูสามารถใช้กฎระเบียบเพื่อควบคุมสถานการณ์ได้โดยที่นักเรียนก็พร้อมปฏิบัติตามข้อตกลง

ห้องเรียนไม่มีรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ที่ตกลงไว้ร่วมกัน การเลือกจัดการกับสถานการณ์มาจากการตัดสินใจของคุณครู ณ ตอนนั้นเป็นหลักซึ่งอาจส่งผลให้เด็ก ๆ รู้สึกสับสนได้

อาจเป็นการ์ตูน

ที่มารูปภาพ https://web.facebook.com/schoolniverse